Responsive image

โรคที่พบบ่อย

1. มะเร็งลำไส้ใหญ่

     มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเป็นปีในระยะแรกๆ เซลล์อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกธรรมดาแต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ เนื้องอกนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้
    • ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การตรวจประเมินเบื้องต้น
    • การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

     แม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น
    • มีประวัติเนื้องอก ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
    • อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไปแต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
    • มีประวัติของโรค IBD (inflammatory bowel disease) คือโรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การไม่ออกกำลังกายและความอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
    • การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่

     ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
    • ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด
    • อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
    • ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
    • ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
    • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • อ่อนเพลียหรืออ่อนแรงโลหิตจาง
     การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้
    • การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และลดลงได้ 18% ในกรณีที่ตรวจปีเว้นปี
    • การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสอดผ่านเข้าไปทางปลายทวารหนักสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง เพื่อตรวจเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ วิธีนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้
    • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้
    • การใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ CT scan (double contrast barium enema: DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

     การวินิจฉัยโรคแพทย์จะใช้วิธีตรวจหลายๆ วิธีเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุและสุขภาพ ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ดังนี้
    • การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุด และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง
    • การตรวจเลือด โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือวัดระดับโปรตีน CEA (carcinoembryonic antigen)
    • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
    • การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง วิธีนี้จะบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นๆ หรือไม่
    • การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

     การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
    • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
    • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
    • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
    • ทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การผ่าตัด
    • รังสีรักษา
    • เคมีบำบัด
    • การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)

2. มะเร็งเต้านม

     เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสมากที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งในระยะแรกและหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดี การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
    • ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม
    • อาการมะเร็งเต้านม
    • การตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้น
    • การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
    • การรักษามะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม

    • อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
    • มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
    • มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
    • การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
    • การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
    • ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง

อาการมะเร็งเต้านม

     บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
    • มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
    • บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
    • เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
    • มีอาการปวดบริเวณเต้านม

การตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้น

     การตรวจประเมินเบื้องต้นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะต้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง โดยการตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
    • การคลำเต้านมด้วยตนเอง
    • การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (mammogram) แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
    • การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์และ MRI จะใช้ในกรณีที่ผลของแมมโมแกรมตรวจพบความผิดปกติและต้องการตรวจหาเพื่อให้แน่ชัดยิ่งขึ้น

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

     จะทำเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติ (ทั้งจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการเอกซเรย์) หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดที่ผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ ซึ่งวิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือวิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ แต่หากไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ แพทย์จะพิจารณาการตรวจด้วยวิธีอื่นทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุ การใช้ยาในปัจจุบัน ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสามารถทำได้ดังนี้
    • การตรวจทางรังสีวิทยา
       - การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic mammography)
       - การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงถ่ายภาพเต้านม (ultrasound)
       - การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายภาพเต้านม (MRI)
    • การเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (biopsy)
    • การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
    • การตรวจเลือด
    • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ของอวัยวะต่างๆ เพื่อเพิ่มความละเอียดในการตรวจหาการลุกลามของมะเร็ง

การรักษามะเร็งเต้านม

     การรักษามะเร็งเต้านมจะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
    • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
    • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
    • อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
    • ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
    • ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
    • ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่น ยีน HER2
    • ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านม
    • การผ่าตัด
    • รังสีรักษา
    • เคมีบำบัด
    •  การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน
    • การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)

3. มะเร็งตับ

     มะเร็งตับเป็นโรคที่มีความสำคัญที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดโรคหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีอาการแสดง กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว

ชนิดของมะเร็งตับ

    • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
    • อาการมะเร็งตับ
    • การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
    • การรักษามะเร็งตับ

ชนิดของมะเร็งตับ

    • มะเร็งของเซลล์ตับ (hepatocelมะเร็งของเซลล์ตับlular carcinoma) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลกและพบมากที่สุดในประเทศไทย
    • มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ (cholangiocarcinoma)

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ

    • ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ
    • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้งชนิดบีและซี
    • สารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งปนเปื้อนอยู่ในเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง
    • โรคทางพันธุกรรมและเมตาบอลิกต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดไขมันเกาะตับและเป็นตับแข็งตามมา
    • การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน

อาการมะเร็งตับ

    • มะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการดังนี้
    • ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่
    • ท้องบวมขึ้น
    • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร
    • รู้สึกอ่อนเพลีย
    • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
    • คลำพบก้อนที่บริเวณตับ
    • ตัวเหลืองและตาเหลือง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

    • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
    • การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein)
    • การตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
    • การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

     การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับมะเร็งตับ คือ การป้องกันและตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูง หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีควรต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของตับและตรวจคัดกรองมะเร็งตับโดยการเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein) และตรวจอัลตราซาวนด์ตับทุก 3 เดือน การรักษามะเร็งตับจะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
    • การผ่าตัด
    • รังสีรักษา
    • เคมีบำบัด
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายตับจะทำได้ในกรณีที่ก้อนในตับมีขนาดน้อยกว่า 5 เซนติเมตรและผู้ป่วยต้องมีอายุน้อยกว่า 70 ปี